เทคโนโลยีชีวภาพที่มีการใช้เพื่อการเกษตรมีหลากหลายชนิด

เทคโนโลยีชีวภาพที่มีการใช้เพื่อการเกษตรมีหลากหลายชนิดที่เกิดขึ้น เช่น การพัฒนาพันธุ์พืชให้มีความต้านทานต่อศัตรูพืช โรคพืช การเพิ่มความทนทานของพืชต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมของภูมิประเทศ เช่นความแห้งแล้ง อุทกภัย การพัฒนาผลไม้ให้สุกงอมช้ากว่าปกติเพื่อลดความเสียหายในระหว่างการขนส่ง การเพิ่มผลผลิตพืชโดยไม่ต้องขยายพื้นที่เพาะปลูก การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อใช้ในการขยายพันธุ์พืชให้ได้จำนวนมากในเวลาอันรวดเร็ว การผลิตท่อนพันธุ์พืชที่ปราศจากโรคเพื่อการลดความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรค การเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อการขยายพันธุ์กล้วยไม้ การปรับปรุงพันธุ์ไม้ดอกเพื่อให้มีอายุการปักแชกันให้ยาวนานขึ้นและมีกลิ่นหอม การปรับปรุงพันธุ์สัตว์ให้มีลักษณะที่ดี การขยายพันธุ์โคนมที่ให้น้ำนมสูงโดยการปฏิสนธิในหลอดแก้ว และการย้ายฝากตัวอ่อน การพัฒนาชุดตรวจวินิจฉัยโรคในกุ้งเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรค การนำจุลินทรีย์มาเปลี่ยนวัตถุดิบด้านการเกษตรที่มีราคาถูกเป็นพลังงานทดแทน การใช้เทคโนโลยีดีเอ็นเอตรวจสอบพันธุ์พืชและสัตว์เศรษฐกิจ เป็นต้น นอกจากนี้สำหรับการเกษตรด้านที่มีการกล่าวถึงความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมได้มีการนำเอาจุลินทรีย์เข้ามามีส่วนร่วมในการผลิตปุ๋ยชีวภาพเพื่อทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมี การลดการใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชโดยการพัฒนาพันธุ์พืชที่มีความต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืช หรือกระทั่งการใช้เชื้อจุลินทรีย์มาใช้สำหรับการกำจัดแมลงศัตรูพืช เช่นแบคทีเรียบีที หรือไวรัสเอ็นพีวี

การเกษตรที่อาศัยความรู้ทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพในการปรับปรุงพันธุ์หรือการพัฒนาพันธุ์ให้มีคุณสมบัติตามต้องการ สามารถทนต่อดินฟ้าอากาศได้ดีขึ้น ต้านทานโรคและแมลงศัตรูพืชได้ดีขึ้น หรือมีคุณค่างทางโภชนาการมากขึ้น ทุกขั้นตอนในการศึกษาจะต้องสามารถอ้างอิงได้ตามมาตรฐานสากล และมีระบบการดูแลอย่างใกล้ชิด และเมื่อมีข้อสรุปได้ว่าสิ่งที่ทดลองนั้นมีความปลอดภัยเท่ากับพืชเปรียบเทียบต่อสิ่งมีชีวิต คน และสิ่งแวดล้อม จึงจะได้รับการอนุมัติให้ดำเนินการในเชิงพาณิชย์ได้ เช่นกรณีไวรัสใบด่างของมะละกอซึ่งมีแมลงหวี่ขาวเป็นพาหะ อันส่งผลให้ผลผลิตลดลงอย่างมากไม่เพียงพอต่อความต้องการบริโภค จึงมีการใช้ความรู้ทางเทคโนโลยีชีวภาพทางด้านพันธุวิศวกรรมเพื่อการดัดแปรมะละกอให้มีความต้านทานต่อโรคไวรัส แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีข้อยุติในเรื่องที่ว่ามะละกอพันธุ์ที่ต้านทานต่อโรคไวรัสนั้นจะมีผลกระทบต่อคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม อย่างไรหรือไม่ ซึ่งไม่สามารถได้ข้อสรุปมาเนื่องจากไม่สามารถดำเนินการในขั้นตอนของการทดสอบในสภาพปลูกจริงได้ เนื่องจากความเห็นที่ขัดแย้งกันระหว่างกลุ่มผู้ปฏิบัติงานกับกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับเทคโนโลยีชีวภาพ

การพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพมีบทบาทในงานด้านการเกษตร

เทคโนโลยีเป็นการนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการประดิษฐ์สิ่งของต่างๆให้เกิดประโยชน์สูงสุด เทคโนโลยีสมัยใหม่เกิดขึ้นโดยมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นฐานรองรับ บทบาทของเทคโนโลยีต่อการพัฒนาประเทศไทยได้เล็งเห็นความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาเป็นลำดับ เพื่อให้เข้าใจธรรมชาติ กฎเกณฑ์ของสิ่งต่างๆ และหาทางนำมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ เทคโนโลยีชีวภาพเป็นเทคโนโลยีซึ่งนำเอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์ใช้กับสิ่งมีชีวิต หรือชิ้นส่วนของสิ่งมีชีวิต หรือผลิตผลของสิ่งมีชีวิต เพื่อเป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นการผลิตหรือกระบวนการ ของสินค้าหรือบริการ เพื่อใช้ประโยชน์เฉพาะอย่างตามที่เราต้องการ โดยสามารถใช้ประโยชน์ทางด้านต่างๆ เช่น ด้านการเกษตร ด้านอาหาร ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านทางการแพทย์ เป็นต้น

การพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ

ย่อมทำให้เกิดความหวาดกลัวขึ้นในหมู่มวลมนุษยชาติในเรื่องของความปลอดภัย และจริยธรรมของเทคโนโลยีชีวภาพที่มีต่อสาธารณชน โดยกลัวว่ามนุษย์จะเข้าไปจัดระบบสิ่งมีชีวิต ความปลอดภัยและจริยธรรมของเทคโนโลยีชีวภาพที่มีต่อสาธารณชน โดยกลัวว่ามนุษย์จะเข้าไปจัดระบบสิ่งมีชีวิต ซึ่งอาจจะทำให้เกิดความวิบัติทางสิ่งแวดล้อมและการแพทย์ หรือนำไปสู่การขัดแย้งกับธรรมชาติของมนุษย์ เช่น การผลิตเชื้อโรคชนิดร้ายแรงเพื่อใช้ในสงครามเชื้อโรค และการใช้สารพันธุกรรมของพืชจากประเทศกำลังพัฒนา โดยบริษัทเอกชนในประเทศอุตสาหกรรม เพื่อหวังผลกำไร

ปัจจัยหลายประการที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ

เช่น ประชากรเพิ่มขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบด้านต่าง ๆ เช่น ความต้องการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ของเสียและสิ่งปฏิกูลมีปริมาณมากขึ้น ส่วนด้านเศรษฐกิจก่อให้เกิดผลกระทบเช่น การแข่งขันผลิตสินค้าและบริการ บุคคลมีความต้องการความสะดวกสลายและความปลอดภัยเพิ่มขึ้นคู่แข่งของเทคโนโลยีชีวภาพ ได้แก่ เทคนิคการสังเคราะห์สารเคมีต่าง ๆ นอกจากนี้เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ เช่น พันธุวิศวกรรมเป็นวิธีการที่มนุษย์เข้าไปมีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมา ดังนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานทางด้านนี้ควรที่จะต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษที่จะไม่ทำให้ยีนส์ที่ถูกทำขึ้นมาใหม่กระจายออกสู่สิ่งแวดล้อมและถูกนำมาใช้ในทางที่จะทำให้สังคมของมนุษยชาติไดรับความเดือดร้อน

การพัฒนาทางด้านการเกษตรของไทยได้เจริญรุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว ดังจะเห็นได้จากมีการนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้กันอย่างกว้างขวาง การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อก็เป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ชนิดหนึ่งที่ประสบความสำเร็จและเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ได้มีการนำไปใช้ประโยชน์ในหลายๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นงานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ หรือแม้แต่ในเชิงการค้า วิทยาการด้านเทคโนโลยีชีวภาพ จึงเป็นวิธีการสำคัญวิธีหนึ่งที่เข้ามามีบทบาทในการพัฒนาศักยภาพของงานด้านการเกษตรทั้งในด้านการปรับปรุงปริมาณและคุณภาพของผลิตผลทางการเกษตรให้ได้ตรงตามความต้องการ นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยในกระบวนการตรวจสอบความสัมพันธ์ การจำแนก การยืนยันสายพันธุ์พืชและสัตว์ รวมทั้งการนำมาใช้ในกระบวนการผลิตและการค้าของผลิตผลทางการเกษตร