สินค้าทางด้านเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาประเทศ


กล่าวได้ว่า วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีความสำคัญและมีความจำเป็นต่อการพัฒนาในด้านต่างๆของประเทศ มีขอบเขตการใช้อย่างกว้างขวาง มีผลให้ชิวิตมนุษย์และสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม มนุษย์มีความเป็นอยู่ที่สุขสบายขึ้น โรคภัยลดลงหรือสามารถแก้ปัญหาได้ การเดินทางและการติดต่อสะดวกและรวดเร็วขึ้น การศึกษาก้าวหน้ากว่าอดีตมากมายนัก เพราะการดำรงชีวิตของมนุษย์มิใช่เพื่อกอบโกยผลประโยชน์จากธรรมชาติ หรือการทำตนอยู่เหนือธรรมชาติ หากแต่มนุษย์ต้องเรียนรู้ธรรมชาติที่จะดำรงชีวิตอย่างสันติร่วมกับผู้อื่น กับสังคมวัฒนธรรม และกับธรรมชาติ ดังนั้นในชีวิตประจำวันของมนุษย์ทุกคน จะต้องเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอยู่ตลอดเวลา

การศึกษาและการประดิษฐ์คิดค้นทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ซึ่งครั้งหนึ่งในสมัยประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาเป็นเพียงกิจกรรมส่วนหนึ่งของนักปราชญ์กลุ่มย่อยๆในสังคม ได้เปลี่ยนแปลงกลายมาเป็นอาชีพที่หลายคนให้ความเชื่อถือและใฝ่ฝันที่จะได้เข้าไปมีบทบาทร่วมดำเนินการ ฐานะ และภาพพจน์ของสังคมที่มีต่ออาชีพการวิจัยและการประดิษฐ์คิดค้น ไม่ว่าจะเป็นของนักวิทยาศาสตร์ วิศวกร หรือ นักเทคโนโลยี ไม่เป็นรองอาชีพใดๆ ประเทศมหาอำนาจต่างๆได้กำหนดนโยบายสนับสนุนงานค้นคว้าวิจัยเป็นอย่างมาก

แม้ว่าเทคโนโลยีทางการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตรของไทยจะมีอยู่ในระดับสูง แต่เทคโนโลยีอุตสาหกรรม รวมทั้งเทคโนโลยีด้านอื่นๆที่จำเป็นในการพัฒนาประเทศ ยังกล่าวได้ว่าอยู่ในระดับต่ำ เช่น เทคโนโลยีทางการแพทย์ การสื่อสาร โทรคมนาคม การขนส่ง คอมพิวเตอร์ เป็นต้น เทคโนโลยีเหล่านี้จำเป็นต้องรับเอามาจากต่างประเทศ และนำมาพัฒนา ปรับปรุง ให้เหมาะสมกับสภาพสิ่งแวดล้อม การดำเนินชีวิต และวัฒนธรรมของสังคมไทย

เทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกี่ยวกับสินค้าและการบริการที่นำเข้า

1)เทคโนโลยีการเกษตร : ได้แก่ สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช นอกจากนี้อาจจะต้องนำเข้าเทคโนโลยีในการเก็บรักษาคุณภาพผลิตผลทางการเกษตรเพื่อการส่งออก เครื่องจักรกลที่ทันสมัยมาช่วยทุ่นแรงในการทำไร่นา
2)เทคโนโลยีชีวภาพ : นำเข้าจากต่างประเทศมากขึ้นทุกปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านการแพทย์ เช่น การผลิตวัคซีนป้องกันโรคต่างๆ การผลิตยาบางชนิด
3)เทคโนโลยีทางอุตสาหกรรม : อุตสาหกรรมเหล็ก อุตสาหกรรมเคมี เช่น อุตสาหกรรมกรดกำมะถัน ต้องใช้วัตถุดิบจากต่างประเทศ
4)เทคโนโลยีทางการแพทย์ : เช่น เทคโนโลยีการผลิตและการพัฒนายาใหม่ เทคโนโลยีการวินิจฉัยโรค เทคโนโลยีของอวัยวะเทียม เป็นต้น
5)เทคโนโลยีการสื่อสาร : ระบบการสื่อสารโทรคมนาคมที่ใช้กันในชีวิตประจำวัน เช่น โทรเลข โทรศัพท์ วิทยุ โทรทัศน์ โทรสาร อินเตอร์เน็ต เป็นต้น
6)เทคโนโลยีการขนส่ง : ได้แก่ การเดินรถ เช่น รถยนต์ รถไฟ รถไฟฟ้าการเดินเรือ เครื่องบิน การขนส่งระบบคอนเทนเนอร์ เป็นต้น
7)เทคโนโลยีระดับสูง : ได้แก่ อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์การสื่อสาร ระบบเลเซอร์ หุ่นยนต์ เป็นต้น
8)เทคโนโลยีวัสดุศาสตร์ : นับเป็นกำลังสำคัญในการผลักดันความก้าวหน้าด้านอุตสาหกรรมเป็นอย่างมาก

การพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจที่ยั่งยืนจะต้องอาศัยพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่แข็งแกร่งของประเทศ เพื่อทำให้คนในประเทศมีคุณภาพชีวิตที่ดี ดังนั้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตจึงมิได้หมายความเพียงการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเท่านั้น แต่เป็นการรู้จักปรับปรุงและพัฒนาเทคโนโลยีให้เหมาะสมกับสถานภาพทั้งในด้านเศรษฐกิจ การศึกษา ขีดความสามารถ และความพร้อมของแต่ละคน

ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์ผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมาก

ปัจจุบันระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งสำคัญสำหรับองค์กรที่เข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกในการดำเนินงาน ทำให้การเข้าถึงข้อมูลมีความรวดเร็ว การติดต่อสื่อสารมีประสิทธิภาพ และช่วยประหยัดต้นทุนในการดำเนินงานด้านต่างๆ ของหน่วยงานที่เชื่อมต่อในระบบอินเทอร์เน็ต เช่น การรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ การมีเว็บไซต์สำหรับเป็นช่องทางในการประชาสัมพันธ์ข่าวสารต่างๆ เป็นต้น แม้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศจะมีประโยชน์และสามารถช่วยอำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ แต่ในขณะเดียวกันก็มีความเสี่ยงสูง และอาจก่อให้เกิดภัยอันตรายหรือสร้างความเสียหายต่อการปฏิบัติราชการได้เช่นกัน

151748

เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้สังคมเปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมมาเป็นสังคมสารสนเทศทำให้ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนจากระบบแห่งชาติไปเป็นเศรษฐกิจโลกที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจของโลกผูกพันกับทุกประเทศ ความเชื่อมโยงของเครือข่ายสารสนเทศทำให้เกิดสังคมโลกาภิวัฒน์เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้องค์กรมีลักษณะผูกพัน มีการบังคับบัญชาแบบแนวราบมากขึ้น หน่วยธุรกิจมีขนาดเล็กลง และเชื่อมโยงกันกับหน่วยธุรกิจอื่นเป็นเครือข่าย การดำเนินธุรกิจมีการแข่งขันกันในด้านความเร็ว โดยอาศัยการใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นตัวสนับสนุน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ง่ายและรวดเร็ว

ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ทำให้มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่อการดำรงชีวิตเป็นอันมาก  เทคโนโลยีได้เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี  เทคโนโลยีทำให้การสร้างที่พักอาศัยมีคุณภาพมาตรฐานสามารถผลิตสินค้าและให้บริการต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์มากขึ้น เทคโนโลยีทำให้ระบบการผลิตสามารถผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมาก  มีราคาถูกลง  สินค้าได้คุณภาพ ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานในการประกอบการทางด้านเศรษฐกิจ การค้า และการอุตสาหกรรม จำเป็นต้องหาวิธีในการเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารเข้ามาช่วยทำให้เกิดระบบอัตโนมัติ เราสามารถฝากถอนเงินสดผ่านเครื่องเอทีเอ็มได้ตลอดเวลา ธนาคารสามารถให้บริการได้ดีขึ้น ทำให้การบริการโดยรวมมีประสิทธิภาพ ในระบบการจัดการทุกแห่งต้องใช้ข้อมูลเพื่อการดำเนินการและการตัดสินใจ ระบบธุรกิจจึงใช้เครื่องมือเหล่านี้ช่วยในการทำงาน เช่น ใช้ในระบบจัดเก็บเงินสด จองตั๋วเครื่องบิน เป็นต้น  เทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งให้บริการด้านข้อมูล  ข่าวสารด้วยกลไกอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้มีการติดต่อสื่อสารกันได้สะดวก  รวดเร็วตลอดเวลา  จะเห็นว่าชีวิตปัจจุบันเกี่ยวข้อง กับเทคโนโลยีเป็นอันมาก  ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการทำงาน

ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหาร

 

อุตสาหกรรมอาหารเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ แนวโน้มของการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารในอนาคตจะมีหลายปัจจัยที่เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการกำหนดทิศทางการพัฒนาของอุตสาหกรรม โดยเฉพาะแนวโน้มของจำนวนประชากรโลกที่เพิ่มมากขึ้นทุกปี จำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น วิถีการดำเนินชีวิตของคนที่เปลี่ยนแปลงไป การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก การขยายตัวของสังคมเมืองทำให้พื้นที่ในการทำเกษตรกรรมลดลง และการบริหารจัดการผลผลิตทางการเกษตรระหว่างพืชอาหารและพืชพลังงาน

สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาอุตสาหกรรม เพื่อให้สอดคล้องกับเงื่อนไขและสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป แนวทางการศึกษาถึงแนวโน้มของอุตสาหกรรมอาหารที่จะเกิดขึ้นในอนาคตนั้นจะพิจารณาตามห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรม คือ วัตถุดิบ กระบวนการผลิต บรรจุภัณฑ์และฉลาก และสินค้าสำเร็จรูป การกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารเชิงสร้างสรรค์จะครอบคลุมทั้งในส่วนของการพัฒนาบุคลากรที่เป็นจุดเริ่มต้นของการคิดริเริ่มสิ่งใหม่ การสนับสนุนให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมและการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า การยกระดับมาตรฐานการผลิตของภาคอุตสาหกรรมให้อยู่ในระดับสากล การพัฒนาระบบโครงสร้างสนับสนุนให้มีความเหมาะสมและสามารถสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ของนักวิจัยพัฒนาสินค้าได้

นอกจากนี้ยังมีการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับภาคประชาชนถึงการเลือกบริโภคสินค้าอาหารที่มีคุณภาพและดีต่อสุขภาพ และยังเป็นการพัฒนากลไกทางการตลาดในการขับเคลื่อนให้ผู้ประกอบการปรับปรุงคุณภาพและกระบวนการผลิตให้ได้ตามความต้องการของตลาด รวมถึงยังมีการส่งเสริมให้อาหารไทยเป็นอาหารจานหลักของโลกด้วย ประเทศไทยจะเป็นครัวเอกที่ผลิตและสร้างสรรค์สินค้าอาหารที่ได้มาตรฐานระดับโลกและยกระดับอาหารไทยให้เป็นอาหารจานโปรดคนทั้งโลก

ความได้เปรียบในด้านของรสชาติอาหารที่ได้รับการยอมรับในเวทีโลกเป็นปัจจัยสำคัญ ประกอบกับหากมีการดำเนินนโยบายและโครงการสนับสนุน เพื่อขับเคลื่อนให้อาหารไทยกลายเป็นอาหารจานโปรดของคนทั่วโลกก็เป็นสิ่งที่สามารถจะเป็นจริงได้ในอนาคตอันใกล้นี้ รวมทั้งการผลิตสินค้าอาหารของไทยควรมุ่งหน้าสู่การยกระดับคุณภาพของสินค้าให้มีคุณภาพในระดับสากล มีการพัฒนาให้เกิดความสร้างสรรค์ในการสร้างมูลค่าเพิ่มขึ้น และมีความปลอดภัยของอาหาร จะทำให้สินค้าอาหารของไทยเป็นที่ยอมรับของชาวต่างชาติ อันจะนำไปสู่การเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกต่อไปได้อย่างยั่งยืน